ป้ายหน้าทางเข้าโครงการที เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
ภาพถ่ายทางอากาศ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี

โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติเริ่มจากการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในการอนุรักษ์ช้างไทย ดังนั้นการประชุมสามัญคณะกรรมการมูลนิธิฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเลือกพื้นที่ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา เนื้อที่ประมาณ ๑๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙๖,๘๗๕ ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งสามารถรองรับช้างได้ประมาณ ๑๕-๒๐ เชือก โดยปี ๒๕๔๗ นี้ มูลนิธิฯ ได้มีการจัดเตรียมช้างจำนวน ๖ เชือก ถวายแด่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ซึ่งมีพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขาล้อมรอบด้วยเทือกเขาเป็นรูปก้ามปู โดยด้านทิศตะวันออกกั้นด้วยเทือกเขาพังเหย และด้าน ทิศตะวันตกกั้นด้วยเทือกเขารวก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑๔๐-๘๖๔ เมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลลำสนธิและตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว ทำให้เหมาะอย่างยิ่งต่อการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเหตุผลหลัก ๒ ประการ คือ
๑) ลักษณะภูมิประเทศที่ง่ายต่อการติดตามช้าง เนื่องจากเทือกเขาทั้งสองด้านจะเป็นรั้วกั้นแบบธรรมชาติได้ดียิ่ง
๒) แหล่งอาหารที่เพียงพอ สำหรับจำนวนช้างที่จะนำมาปล่อย
 

การจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำเนินงานโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และคณะเข้าสำรวจพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี

การดำเนินงานเริ่มขึ้นโดยเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (ประธานมูลนิธิฯ) คุณศิวะพร ทรรทรานนท์ (กรรมการรักษาการแทนเลขาธิการมูลนิธิฯ) พร้อมคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาได้เดินทางเข้าสำรวจพื้นที่ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการขั้นต่อไป ซึ่งผลจากการสำรวจสรุปขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
  พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
คุณศิวะพร ทรรทรานนท์ สำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้ง สำนักงานมูลนิธิฯ

๑ การจัดตั้งสำนักงานมูลนิธิฯ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
การจัดสร้างระเบียงหน้าสำนักงาน

มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้จัดตั้งสำนักงานมูลนิธิฯ เพิ่มอีก ๑ แห่ง เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

๒ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติภาคสนาม
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติภาคสนาม ตามรายนามดังนี้

  • นายพิชัย ฉันทวีระชาติ ประธาน
  • นายบัณฑิต เสาวรรณ รองประธาน
  • พล.ต.ต ชูเกียรติ ประทีปเสน กรรมการ
  • น.สพ.สมชาย ศิริเทพทรงกลด เลขานุการ
  • นางสาวศุทธินี พินิจ ผู้ช่วยเลขานุการ

๓ การจัดเตรียมช้าง
มูลนิธิฯ ได้ทำการจัดหาช้างเข้าสู่โครงการฯ จำนวน ๙ เชือก โดยบางเชือกได้มาด้วยการซื้อ บางเชือกผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้มูลนิธิฯ ซึ่งบัดนี้มูลนิธิฯ ได้ทำการเคลื่อนย้ายช้างดังกล่าวจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว มายังพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับพฤติกรรมช้างก่อนนำคืนสู่ธรรมชาติ โดยจะทำการปรับพฤติกรรมช้างประมาณ ๓ -๔ เดือน หลังจากนั้นนายสัตวแพทย์พร้อมผู้เชี่ยวชาญจะทำการคัดเลือกช้างจำนวน ๖ เชือก ที่ผ่านกระบวนการปรับพฤติกรรม สำหรับนำถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเพื่อทรงปล่อย ณ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
การขนย้ายช้างจาก จ.ลำปาง มายังพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ สค. ๔๗

๔ การจัดสร้างแหล่งน้ำ
เนื่องด้วยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จะให้ช้างใช้ได้ตลอดทั้งปีดังนั้นมูลนิธิฯ จึงจัดทำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ( ๘๐ x ๘๐ x ๒ เมตร ) จำนวน ๒ แห่ง เพื่อเก็บน้ำที่มีมากในช่วงฤดูฝนไว้สำหรับใช้ในหน้าแล้ง และมูลนิธิฯ ยังได้รับความร่วมมือจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเรื่องให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน ๒๐ แห่ง

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
การจัดทำฝายน้ำแบบผสมผสาน
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
แหล่งน้ำขนาดใหญ่แหล่งที่ 1
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
แหล่งน้ำขนาดใหญ่แหล่งที่ 2

๕ การจัดสร้างแหล่งอาหาร
มูลนิธิฯ ได้มีการปลูกพืชเพิ่มเติม เพื่อรองรับจำนวนช้างที่จะนำมาปล่อยเพิ่มหลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงปล่อยช้างจำนวน ๖ เชือกไปแล้ว โดยขณะนี้มูลนิธิฯ ได้ทำการปลูกต้นกล้วย และหญ้าบาน่า รวมทั้งได้จัดทำโป่งเทียมสำหรับช้างได้มากินเพื่อเป็นอาหารเสริม

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
ปลูกแหล่งอาหารเพิ่มเติมสำหรับช้าง มีต้นกล้วย และหญ้าบาน่า
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
การจัดทำโป่งเทียมสำหรับช้าง
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
การจัดเตรียมเพาะชำอ้อยป่าเพื่อปลูกในฤดูฝน

๖ การปรับปรุงถนน
มูลนิธิฯ ได้ทำการปรับปรุงถนนทั้งในและนอกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับ ลังกา ดังนี้
-เส้นทางเดินรถ ตั้งแต่ที่ทำการอุทยานจนถึงหน่วยพิทักษ์ป่าต้นน้ำ รวม ระยะทาง ๒๐ ก.ม. ไม่สามารถใช้งานได้ในฤดูฝน มูลนิธิฯ จึงทำการปรับปรุงถนน โดยการปรับเป็นถนนลูกรังอัดแน่นขนาดกว้าง ๔ เมตร เพื่อให้สามารถใช้เป็นเส้นทางสำหรับตรวจการณ์ได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานการดูแลช้าง
-มูลนิธิฯ ได้รับความร่วมมือจากกรมทางหลวง ในการซ่อมแซมปรับปรุงพื้นผิวถนนหลวงหมายเลข ๒๒๖๐ ซึ่งมีลักษณะพื้นผิวขรุขระ ให้ใช้การได้ดีขึ้น เนื่องจากถนนนี้เป็นเส้นทางเดินรถเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

๗ การจัดสร้างพลับพลาที่ประทับ
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับสำหรับพระราชพิธีปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ โดยจุดหลักในการออกแบบครั้งนี้คือ พลับพลาสามารถถอดออกและเก็บรักษาสำหรับใช้งานในครั้งต่อไปได้

๘ การจัดสร้างที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่
มูลนิธิฯ ได้จัดสร้างบ้านพักจำนวน ๑ หลังสำหรับสัตวแพทย์ และบ้านพักจำนวน ๒ หลัง สำหรับผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ภาคสนาม (ควาญช้าง)

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังก
บ้านพักสัตวแพทย์
บ้านพักผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ภาคสนาม (ควาญช้าง)

๙ การจัดทำโมเดล
มูลนิธิฯ ได้จัดจ้างการทำโมเดลสำหรับโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา สำหรับถวายการรายงานในพระราชพิธีปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ และเพื่อใช้สำหรับลงตำแหน่งช้างหลังปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

๑๐ การจัดสร้างลานจอดเฮลิคอปเตอร์

๑๑ การจัดทำแนวรั้วกั้นป้องกันช้าง
จากลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาพังเหย ขนานกับเทือกเขาลวก จึงเป็นแนวรั้วกั้นช้างโดยธรรมชาติ ด้านซ้ายและขวาได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจพบว่ามีช่องว่างระหว่างภูเขาทั้งสองเป็นระยะทางห่างกันประมาณ ๑๐ กม.ทางด้านทิศเหนือและ ๗ กม.ทางด้านใต้ มูลนิธิฯ จึงเห็นควรให้จัดทำแนวรั้วไฟฟ้าตรงบริเวณช่องว่างระหว่างภูเขาทั้งด้านเหนือและใต้เพื่อป้องกันช้างออกนอกพื้นที่

๑๒ การจัดทำระบบการติดตามช้าง
โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นโครงการฯ ที่ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและ................เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ช้างไทย






มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ
๘๘๘ อาคารไอทาวเวอร์ ชั้น ๑๘ ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท์ (+๖๖) ๐-๒๕๑๒๒๖๒๗-๘ แฟกซ์ (+๖๖) ๐-๒๕๑๒๒๖๒๙

อีเมล์ : erf2545@gmail.com