มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ : Elephant Reintroduction Foundation
ความเป็นมา รายนามคณะกรรมการ 00 มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ | Elephant Reintroduction Foundation
การดำเนินโครงการ
มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ, กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ข่าว กิจกรรมโครงการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ

ขั้นตอนการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ

ขั้นตอนการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ

พื้นที่ดำเนินโครงการ

๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง และป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง มีพื้นที่ ๓๕๖, ๙๒๖ ไร่ อยู่ในท้องที่จังหวัดลำปาง และมีอาณาบริเวณบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดลำพูน ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาวมีพื้นที่ ๑, ๔๕๐ ไร่ เป็นพื้นที่ที่จังหวัดลำปางประกาศให้เป็นพื้นที่สำหรับใช้เลี้ยงดูและปรับพฤติกรรมช้างก่อนปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติ ซึ่งในอดีตมีช้างที่ถูกปล่อยเข้าไปอาศัยในป่าดอยผาเมืองแล้วจำนวน ๙ เชือก และอยู่ในระหว่างปรับพฤติกรรมในพื้นที่ดอยผาเมืองอีกจำนวน ๓ เชือก

๒. อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

มีพื้นที่ ๑, ๕๔๘,๗๕๐ ไร่ อยู่ในท้องที่ จ. เพชรบุรี จ. ราชบุรี และ จ. ประจวบคีรีขันธุ์ มีอาณาบริเวณครอบคลุมเทือกเขาตะนาวศรี ติดกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และป่าสงวนแห่งชาติในสหภาพพม่า ในปี ๒๕๔๓ ได้ปล่อยลูกช้างป่าชื่อ”พังทุเรียน” ให้กลับเข้าไปดำรงชีวิตอยู่ในป่าแห่งนี้

๓. พื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติแม่วะ-แม่มอก

อยู่ในท้องที่ จ. ลำปางและ จ. ตาก มีอาณาบริเวณประมาณ ๓๖๘,๑๒๕ ไร่ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ปล่อยช้างเพศเมีย ๓ เชือกและเพศผู้อีก ๑ เชือกกลับคืนสู่ธรรมชาติ (ตอนหลังนำกลับไปที่หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่งจำนวน ๒ เชือก) เนื่องจากผืนป่าแห่งนี้มีประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์มาก จึงไม่เหมาะสมต่อการปล่อยช้างเพศผู้ซึ่งมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวเข้าไปในผืนป่าดังกล่าว จึงได้ย้ายช้างเพศผู้กลับเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว เพื่อหาพื้นที่ป่าแห่งอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมต่อการปล่อยช้างคืนสู่ป่าธรรมชาติต่อไป ในปัจจุบันช้างที่ปล่อยคืนสู่ป่าผืนนี้ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากความชรา

กิจกรรมการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จทำพิธีปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติรวม ๔ ครั้ง คือ

ครั้งที่ ๑ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

  • เมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค. ๒๕๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปล่อยช้างซึ่งทรงรับเข้าสู่โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ จำนวน ๓ เชือก ได้แก่พังบัวลอย พังมาลัย และพังบุญมี

ครั้งที่ ๒ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

  • เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ได้ทรงทำพิธีปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ จำนวน ๒ เชือก

ครั้งที่ ๓ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว (เป็นบริเวณรอยต่อของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง และพื้นที่สวนป่า ออป.)

  • เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ได้ทรงทำพิธีปล่อยช้างแม่ลูก จำนวน ๒ เชือก ได้แก่ พังคำมูล และพลายสอง คืนสู่ธรรมชาติ

ครั้งที่ ๔ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว (เป็นบริเวณรอยต่อของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง และพื้นที่สวนป่า ออป.)

  • เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ได้ทรงปล่อยช้างของโครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทยจำนวน ๑๖ เชือก

และเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยและเดนมาร์ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงนำพระราชอาคันตุกะ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มาร์เกรเธอที่ ๒ แห่งเดนมาร์ก เจ้าฟ้าชายเฮนริก พระราชสวามี และเจ้าฟ้าชายเฟรเดอริค มกุฏราชกุมาร ทรงปล่อยช้างเพศเมียจำนวน ๑ เชือกชื่อ “พังบุญรอด” ให้กลับเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง เมื่อวันที่ ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๔

 

ปัจจุบันมูลนิธิฯ ดำเนินโครงการใน ๓ พื้นที่ได้แก่

ขั้นตอนการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ
๑.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ลำปาง ๒.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ลพบุรี ๓.อุทยานแห่งชาติภูพาน สกลนคร
 

พื้นที่
พื้นที่
พื้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จ.ลำปาง.................. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี.................. อุทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร

 

๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จ.ลำปาง เนื้อที่ประมาณ ๕๓๘ ตารางกิโลเมตรปัจจุบัน(ปี ๒๕๖๗) มีช้างประมาณ ๔๐ ตัว

พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่

๒.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙๖,๘๗๕ ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งมีพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขาล้อมรอบด้วยเทือกเขาเป็นรูปก้ามปู โดยด้านทิศตะวันออกกั้นด้วยเทือกเขาพังเหย และด้าน ทิศตะวันตกกั้นด้วยเทือกเขารวก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑๔๐-๘๖๔ เมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลลำสนธิและตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว ทำให้เหมาะอย่างยิ่งต่อการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเหตุผลหลัก ๒ ประการ คือ
๑) ลักษณะภูมิประเทศที่ง่ายต่อการติดตามช้าง เนื่องจากเทือกเขาทั้งสองด้านจะเป็นรั้วกั้นแบบธรรมชาติ
๒) มีแหล่งอาหารที่เพียงพอ

โดยปี ๒๕๖๗ มีช้างจำนวน ๗๐ ตัว

พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
 

๓. อุทยานแห่งชาติภูพาน
เนื่องด้วยอุทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร มีช้างป่าเหลือเพียงตัวเดียวในขณะนั้น จึงมีพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รับสั่งให้มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาตินำช้างไปอยู่เป็นเพื่อนช้างป่าที่เหลือเพียง 1 ตัว และเมื่อมูลนิธิฯ ได้ส่งมอบช้าง ๒ ตัวแรก (ปีพ.ศ. ๒๕๔๙) คือพังบังเงิน และพังบัวทอง ปรากฎว่าช้างป่า(พังบัวแก้ว)ได้เข้ามาต้อนรับและพาเข้าป่าไปหากินอยู่ด้วยกันอย่างดี หลังจากนั้น มูลนิธิฯ ได้ส่งมอบช้างให้เข้าร่วมโครงการอีก ๒ คราว คือ ในปี ๒๕๕๑ คือพังพลอยและพังนิ่มนวล และปี ๒๕๕๓ ได้ส่งมอบพังนกแลและพังดีใจ ในปัจจุบันช้างที่มูลนิธิฯ ส่งไปได้แก่ชราและล้มตายลง เหลือเพียงพังนกแลเท่านั้นที่อยู่เป็นเพื่อนพังบัวแก้ว(ช้างป่า)

พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
 
พื้นที่
พื้นที่
 
อุทยานภูมิสิริกุญชร
ปี ๒๕๖๗ มูลนิธิฯ มีแนวคิดจัดทำอุทยานในลักษณะการปลูกต้นไม้ ๓ ชนิดประโยชน์ ๔ อย่าง เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของน้ำ ป่าไม้ รวมถึงพระมหากรุณาธิคุณที่่่ทรงมีต่อช้างไทยและสัตว์ป่าอื่นมาโดยตลอด โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานในพื้นที่ี่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี ว่า “อุทยานภูมิสิริกุญชร”
นอกเหนือจากการปลูกป่าด้วยพรรณไม้นานาชนิด มูลนิธิฯ มีแนวคิดจัดทำช้างปูนปั้นขนาดเท่าของจริงตั้งตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ของอุทยานเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ แทนช้างจริงที่ปล่อยคืนสู่ป่าไปแล้ว

 

พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
 
พื้นที่
พื้นที่
พื้นที่
 

มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ | Elephant Reintroduction Foundation

มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ | Elephant Reintroduction Foundation
มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ
๘๘๘ อาคาร ไอ ทาวเวเวอร์ ชั้น ๑๘ ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ประเทศไทย
โทรศัพท์ (+๖๖) ๐-๒๕๑๒-๒๖๒๗-๘ แฟกซ์ (+๖๖) ๐-๒๕๑๒-๒๖๒๙

อีเมล์ : erf2545@gmail.com